วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558

เส้นทางชีวิตที่พลิกผันของ CEO ธนาคารไทยพาณิชย์ ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย




ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย กรรมการ ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการกิจกรรมเพื่อสังคม
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)



ดร.วิชิต สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทสาขาวิศวกรรมศาสตร์จาก University of California, Berkeley ปริญญาโทและปริญญาเอก สาขาบริหารธุรกิจ จาก University of California, Los Angeles ประเทศสหรัฐอเมริกา 




เขาเป็นคนกรุงเทพฯ เกิดในครอบครัวเจ้าของโรงงานผลิตกล่องกระดาษโรงแรกในประเทศไทย ที่ก่อตั้งขึ้นโดยพ่อของเขา พงษ์ สุรพงษ์ชัยกับแม่-ลาวัณย์ เป็นกิจการครอบครัวที่เริ่มจากเล็ก ๆ และเติบโตขึ้นมาพร้อม ๆ กับวัยที่เติบโตของเขากับพี่ชายเพียงคนเดียว-วินิจสุรพงษ์ชัย อดีตผู้บริหารคนสำคัญของเอสเอสซีแอนด์บี ลินตาสที่เพิ่งจะมีข่าวครึกโครมเรื่องลาออกไปตั้งเอเยนซี่ใหม่ไม่กี่เดือนมานี้
วิชิต เริ่มเรียนหนังสือที่อัสสัมชัญบางรัก เขาคิดว่าเขากับวินิจน่าจะต้องแสดงบทบาทความเป็นเถ้าแก่ดูแลกิจการโรงงานผลิตกล่องกระดาษต่อจากรุ่นพ่อแม่ ซึ่งก็เป็นความปรารถนาของครอบครัวด้วย เมื่อจบระดับเตรียมอุดมศึกษาแล้ววิชิตจึงตรงแน่วเข้าเป็นนิสิตใหม่คณะวิศวกรรมศาสตร์ แผนกเครื่องกลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างมุ่งมั่น เขาตั้งใจว่าจะนำความรู้ทางด้านวิศวะเครื่องกลไปใช้กับโรงงานของเขา ส่วนวินิจที่ชอบด้านศิลปะก็ถูกส่งไปเรียนวิชาที่ตัวเองชอบที่อังกฤษ
ดูเหมือนครอบครัว "สุรพงษ์ชัย" จะได้วางเส้นทางเดินของทายาทเอาไว้แล้วอย่างรัดกุม
คนโตไปเรียนวิชาที่จะต้องนำมาใช้ในการสร้างสรรค์สินค้าใหม่ ๆ ของโรงงาน
ส่วนคนเล็กเรียนวิชาที่จะใช้ในด้านการผลิต



ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย วัยหนุ่ม


     เพียงแต่บางทีอนาคตข้างหน้านั้นก็ใช่ว่าจะเป็นสิ่งที่กำหนดกันได้เสมอไปเท่านั้น
วินิจ สุรพงษ์ชัย กลับจากอังกฤษก็เข้าทำหน้าที่ในโรงงานผลิตกล่องกระดาษาของครอบครัวทันควัน ตอนนั้น วิชิตยังเรียนวิศวะปี 3 แม้จะยังไม่จบแต่ด้วยความจำเป็นบางประการของครอบครัวทำให้เขาต้องเรียนไปพร้อม ๆ กับช่วยงานในโรงงานและเริ่มให้เวลากับงานอย่างจริงจังทันทีที่หลุดจากรั้วจุฬาฯ
"โรงงานของเราเคยเป็นโรงงานที่มีกำลังการผลิตใหญ่ที่สุด ตอนที่ผมทำงานนั้นก็น่าจะพูดได้ว่าทำเกือบทุกอย่าง ตั้งแต่เถ้าแก่ไปจนถึงจับกังแบกของขนของขึ้นรถลงรถขับรถส่งของหรือแม้แต่ไปญี่ปุ่นเพื่อซื้อเครื่องจักร ต้องอยู่เทรนที่ญี่ปุ่น 6-7 เดือน ผมคิดว่าผมก็ได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ มากทีเดียว" วิชิต เล่าให้ฟัง

หนึ่งปีหลังจากจับงานของครอบครัวอย่างเต็มตัว กิจการเริ่มประสบปัญหาจากการแข่งขัน วิชิตเริ่มคิดในขณะนั้นว่า เขามีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนากิจการให้อยู่ในฐานะที่แข็งแกร่งขึ้น "ผมคิดว่าความรู้ทาง
หนึ่งปีหลังจากจับงานของครอบครัวอย่างเต็มตัว กิจการเริ่มประสบปัญหาจากการแข่งขัน วิชิตเริ่มคิดในขณะนั้นว่า เขามีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนากิจการให้อยู่ในฐานะที่แข็งแกร่งขึ้น "ผมคิดว่าความรู้ทางด้านวิศวะที่มีอยู่ของผมจริง ๆ แล้วมันยังไม่แน่นพอที่จะนำมาใช้ในการพัฒนากิจการก็คิดแค่เพียงด้านนี้ด้านเดียวจริง ๆ ผมก็เลยตัดสินใจไปเรียนต่อระดับปริญญาโทที่ต่างประเทศ"

ปี 2512 วิชิตเข้าเรียนในระดับปริญญาโททางด้านวิศวอุตสหกรรรมที่เบิร์กเล่ย์ประเทศสหรัฐอเมริกา
แต่ดูเหมือนว่าความรู้ระดับปริญญาโทที่ร่ำเรียนมาไม่ได้ช่วยให้กิจการของครอบครัวพัฒนาไปสู่จุดที่มุ่งหวัง เขาเริ่มมองเห็นสัจธรรมว่าอะไรคือสาเหตุในช่วงนี้เอง
"จริง ๆ แล้วมันเป็นปัญหาเรื่องการจัดการเรื่องเงิน เรื่องระบบธุรกิจแบบครอบครัว ซึ่งเป็นปัญหาที่เราไม่มีความรู้ที่จะแก้ไขเลย" วิชิตบอก
เขาตัดสินใจขจัดความไม่รู้ด้วยการบินกลับไปเรียนปริญญาโทบริหารธุรกิจ (เอ็มบีเอ) เพิ่มเติมที่ยูซีแอลเอ สหรัฐอเมริกา เขาหวังอย่างมากที่จะกลับมาฟื้นฟูกิจการของครอบครัวอีกครั้ง เพียงแต่เขาตัดสินใจออกจะช้าไปสักนิดบริษัทสิงห์ทอง จำกัด โรงงานผลิตกล่องกระดาษที่ครอบครัว "สุรพงษ์ชัย" ก่อร่างสร้างขึ้นมาด้วยระยะเวลานับสิบ ๆ ปี ตัดสินใจขายหุ้นส่วนข้างมากให้กับบริษัทออสเตรเลีย คอนโซลิเดเต็ด อินดัสทรีย์ (ที่เข้ามาเป็นหุ้นใหญ่ในบริษัทไทยกลาสในประเทศไทย) และบริษัทเบอร์ลี่ ยุคเกอร์เพื่อรับช่วงกิจการไปดำเนินการต่อพร้อม ๆ กับเปลี่ยนชื่อบริษัทจากสิงห์ทองเป็นบริษัทสยามบรรจุภัณฑ์



"ช่วงนั้นเป็นปี 2514 ดร.วิชิตยังอยู่ต่างประเทศ เจ้าของเก่าเขาดูแล้วว่าเขากำลังไม่พอที่จะพากิจการให้รุ่งเรืองได้เหมือนเก่าท่ามกลางการแข่งขัน บวกกับกลุ่มไทกลาสที่ติดต่อธุรกิจกันมานานก็เสนอเงื่อนไขดีมาก ๆ เขาก็เลยตัดสินใจขายหุ้นส่วนใหญ่ให้ คงเหลือหุ้นไว้เพียงเล็กน้อยบริษัทนี้ต่อมาในปี 2524 หรือ 10 ปีให้หลังก็เข้าไปอยู่ในเครือซิเมนต์ไทย ก็บริษัทสยามบรรจุภัณฑ์ที่เรารู้จักกันนั่นเอง ไม่ค่อยจะมีคนทราบหรอกว่าคนที่วางรากบริษัทนี้เริ่มจากพวกสุรพงษ์ชัยโดยมี ดร.วิชิตเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงคนหนึ่งในขณะที่ยังอยู่ในวัยหนุ่ม"





ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย เริ่มทำงานเป็นพนักงานฝ่ายวิเคราะห์สินเชื่อ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IFCT) และเป็นอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต่อมาย้ายมาอยู่ธนาคารกรุงเทพ ในปี พ.ศ. 2520 และในปี พ.ศ. 2535 ดร.วิชิต ได้รับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคารกรุงเทพ ในปี 2537 ดร.วิชิต ลาออกจากธนาคารกรุงเทพ โดยให้เหตุผลว่าจะไปรักษาสุขภาพ แต่เพียงไม่ถึงปีของการลาออก เขาได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย





มีประวัติการทำงานที่ยาวนานในภาคการเงินการธนาคาร โดยเริ่มต้นการทำงานด้านการธนาคารที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และได้ลาออกในขณะที่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในระหว่างปี พ.ศ. 2537-2538 และได้กลับเข้าสู่ธุรกิจการธนาคารอีกครั้งในตำแหน่งประธานกรรมการธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) ในปี พ.ศ. 2541 และในปี พ.ศ. 2542 ดร. วิชิต ได้เข้าร่วมงานกับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร และกรรมการ ธนาคาร นอกจากนี้ยังเป็นกรรมการของ Kempinski AG แห่งสวิตเซอร์แลนด์ และดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์


ด้วยวิสัยทัศน์และการวางยุทธศาสตร์ภายใต้การนำและขับเคลื่อนของ ดร.วิชิต ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างการทำธุรกิจในกลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์เป็นอย่างมาก การยึดถือรูปแบบธุรกิจให้การบริการอย่างครบวงจร (Universal Banking) ส่งผลทำให้ธนาคารมีการเติบโตที่โดดเด่นก้าวขึ้นเป็นธนาคารชั้นนำของประเทศ มีศักยภาพสูงในการแข่งขันและสามารถสร้างผลกำไรในระดับสูงได้อย่างต่อเนื่อง ผลักดันให้หุ้นธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) มีมูลค่าทางตลาด (Market Capitalization) สูงสุดของสถาบันการเงินไทย นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลต่างๆ มากมายทั้งในต่างประเทศและในประเทศ ดร.วิชิต ให้ความสำคัญในการวางรากฐานและได้ถ่ายทอดหลักการบริหารการเปลี่ยนแปลงแก่ทีมผู้บริหารของ ธนาคารเพื่อให้ธนาคารสามารถเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพในอนาคต

ดร.วิชิต มีบทบาทในการพัฒนาการศึกษาของประเทศ โดยที่ผ่านมาเคยดำรงตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล, กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, กรรมการสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) รวมถึงการดำรงตำแหน่ง กรรมการของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น