วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2558

สาวสุดกล้า! โดดขึ้นโต๊ะแถลงข่าว ประท้วง ปธ.ธนาคารกลางยุโรป (ECB)



ถึงป่วน! หญิงสาวอายุแค่ 20 ปีเศษ สุดกล้ากระโดดขึ้นโต๊ะระหว่างการแถลงข่าว ของนายมาริโอ ดรากี้ ประธานธนาคารกลางยุโรป ECB พร้อมตะโกนต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดประเทศสมาชิก
วันที่ 15 เม.ย.สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานว่า มีหญิงสาวกระโดดขึ้นบนโต๊ะ ระหว่างที่นายมาริโอ ดรากี้ ประธานธนาคารกลางยุโรป หรือ European Central Bank กำลังแถลงข่าวต่อหน้าสื่อมวลชนจำนวนมาก เมื่อช่วงบ่ายวันพุธที่ 15 เม.ย.ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งทำให้การแถลงข่าวที่สำนักงานใหญ่ของธนาคารกลางยุโรป ต้องหยุดชะงักชั่วคราว
หญิงสาว สุดกล่้า!โปรยกระดาษประท้วง ปธ.ธนาคารยุโรป ต้านนโยบายรัดเข็มขัด
โดยหญิงสาวรายดังกล่าวอายุประมาณยี่สิบปีเศษ ซึ่งรวมกลุ่มอยู่กับบรรดานักข่าวเพื่อรับฟังการแถลงข่าวของประธาน ECB ได้กระโดดขึ้นบนโต๊ะ ตรงหน้า นายมาริโอ ดรากี้ พร้อมตะโกนเป็นภาษาอังกฤษว่า "end the ECB dictatorship" หรือแปลว่า "หยุดเผด็จการอีซีบีเสียที" ซึ่งเป็นข้อความ ที่สแกนอยู่บนเสื้อยืดที่เธอสวมอยู่ พร้อมกับโปรยเศษกระดาษตัดที่ใช้โยนในงานคาร์นิวัลใส่นายมาริโอ ดรากี้ ด้วย
วินาที จนท.รักษาความปลอดภัยเข้าชาร์ตถึงตัวหญิงอายุ20ปี
ทั้งนี้ มีรายงานว่า การแถลงข่าวดำเนินต่อไป หลังจากที่สามารถจับและแยกตัวหญิงสาวคนดังกล่าวออกไปได้ ซึ่งงานต้องหยุดชะงักไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง โดยไม่มีเหตุการณ์ผิดปกติแต่อย่างใด อย่างไรก็ดี ECB ตกเป็นเป้าของการโจมตีมาตลอด หลังมีวิกฤตการณ์ทางการเงินยุโรป โดยธนาคาร BEC มีบทบาทเป็นผู้กำหนดแนวทางในการดำเนินนโยบายรัดเข็มขัดในหลายประเทศสมาชิก ทำให้เกิดการต่อต้านอยู่บ่อยครั้ง ล่าสุด เมื่อเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา ในพิธีเปิดสำนักงานที่ทำการใหม่ของอีซีบี มีผู้ประท้วงหลายพันคนต่อนโยบายรัดเข็มขัดและสนับสนุนนโยบาย "แคปิตัลลิสต์" ทำให้มีการปะทะกันค่อนข้างรุนแรง
จนท.เร่งนำตัวหญิงสาวสุดป่วน ออกจากสถานที่แถลงข่าวของปธ.ธนาคารกลางยุโรป (ECB)
ขณะที่มาตรการรักษาความปลอดภัยของอาคารที่ทำการธนาคารกลางยุโรปยังมีความเข้มงวดมาก สำหรับผู้ที่จะสามารถผ่านเข้ามาในอาคารได้ จะต้องทำการลงทะเบียนล่วงหน้าทุกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการแถลงข่าวที่มีทุกหกสัปดาห์ต่อ 1 ครั้ง.

http://www.thairath.co.th/content/493208

วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558

เส้นทางชีวิตที่พลิกผันของ CEO ธนาคารไทยพาณิชย์ ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย




ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย กรรมการ ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการกิจกรรมเพื่อสังคม
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)



ดร.วิชิต สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทสาขาวิศวกรรมศาสตร์จาก University of California, Berkeley ปริญญาโทและปริญญาเอก สาขาบริหารธุรกิจ จาก University of California, Los Angeles ประเทศสหรัฐอเมริกา 




เขาเป็นคนกรุงเทพฯ เกิดในครอบครัวเจ้าของโรงงานผลิตกล่องกระดาษโรงแรกในประเทศไทย ที่ก่อตั้งขึ้นโดยพ่อของเขา พงษ์ สุรพงษ์ชัยกับแม่-ลาวัณย์ เป็นกิจการครอบครัวที่เริ่มจากเล็ก ๆ และเติบโตขึ้นมาพร้อม ๆ กับวัยที่เติบโตของเขากับพี่ชายเพียงคนเดียว-วินิจสุรพงษ์ชัย อดีตผู้บริหารคนสำคัญของเอสเอสซีแอนด์บี ลินตาสที่เพิ่งจะมีข่าวครึกโครมเรื่องลาออกไปตั้งเอเยนซี่ใหม่ไม่กี่เดือนมานี้
วิชิต เริ่มเรียนหนังสือที่อัสสัมชัญบางรัก เขาคิดว่าเขากับวินิจน่าจะต้องแสดงบทบาทความเป็นเถ้าแก่ดูแลกิจการโรงงานผลิตกล่องกระดาษต่อจากรุ่นพ่อแม่ ซึ่งก็เป็นความปรารถนาของครอบครัวด้วย เมื่อจบระดับเตรียมอุดมศึกษาแล้ววิชิตจึงตรงแน่วเข้าเป็นนิสิตใหม่คณะวิศวกรรมศาสตร์ แผนกเครื่องกลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างมุ่งมั่น เขาตั้งใจว่าจะนำความรู้ทางด้านวิศวะเครื่องกลไปใช้กับโรงงานของเขา ส่วนวินิจที่ชอบด้านศิลปะก็ถูกส่งไปเรียนวิชาที่ตัวเองชอบที่อังกฤษ
ดูเหมือนครอบครัว "สุรพงษ์ชัย" จะได้วางเส้นทางเดินของทายาทเอาไว้แล้วอย่างรัดกุม
คนโตไปเรียนวิชาที่จะต้องนำมาใช้ในการสร้างสรรค์สินค้าใหม่ ๆ ของโรงงาน
ส่วนคนเล็กเรียนวิชาที่จะใช้ในด้านการผลิต



ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย วัยหนุ่ม


     เพียงแต่บางทีอนาคตข้างหน้านั้นก็ใช่ว่าจะเป็นสิ่งที่กำหนดกันได้เสมอไปเท่านั้น
วินิจ สุรพงษ์ชัย กลับจากอังกฤษก็เข้าทำหน้าที่ในโรงงานผลิตกล่องกระดาษาของครอบครัวทันควัน ตอนนั้น วิชิตยังเรียนวิศวะปี 3 แม้จะยังไม่จบแต่ด้วยความจำเป็นบางประการของครอบครัวทำให้เขาต้องเรียนไปพร้อม ๆ กับช่วยงานในโรงงานและเริ่มให้เวลากับงานอย่างจริงจังทันทีที่หลุดจากรั้วจุฬาฯ
"โรงงานของเราเคยเป็นโรงงานที่มีกำลังการผลิตใหญ่ที่สุด ตอนที่ผมทำงานนั้นก็น่าจะพูดได้ว่าทำเกือบทุกอย่าง ตั้งแต่เถ้าแก่ไปจนถึงจับกังแบกของขนของขึ้นรถลงรถขับรถส่งของหรือแม้แต่ไปญี่ปุ่นเพื่อซื้อเครื่องจักร ต้องอยู่เทรนที่ญี่ปุ่น 6-7 เดือน ผมคิดว่าผมก็ได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ มากทีเดียว" วิชิต เล่าให้ฟัง

หนึ่งปีหลังจากจับงานของครอบครัวอย่างเต็มตัว กิจการเริ่มประสบปัญหาจากการแข่งขัน วิชิตเริ่มคิดในขณะนั้นว่า เขามีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนากิจการให้อยู่ในฐานะที่แข็งแกร่งขึ้น "ผมคิดว่าความรู้ทาง
หนึ่งปีหลังจากจับงานของครอบครัวอย่างเต็มตัว กิจการเริ่มประสบปัญหาจากการแข่งขัน วิชิตเริ่มคิดในขณะนั้นว่า เขามีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนากิจการให้อยู่ในฐานะที่แข็งแกร่งขึ้น "ผมคิดว่าความรู้ทางด้านวิศวะที่มีอยู่ของผมจริง ๆ แล้วมันยังไม่แน่นพอที่จะนำมาใช้ในการพัฒนากิจการก็คิดแค่เพียงด้านนี้ด้านเดียวจริง ๆ ผมก็เลยตัดสินใจไปเรียนต่อระดับปริญญาโทที่ต่างประเทศ"

ปี 2512 วิชิตเข้าเรียนในระดับปริญญาโททางด้านวิศวอุตสหกรรรมที่เบิร์กเล่ย์ประเทศสหรัฐอเมริกา
แต่ดูเหมือนว่าความรู้ระดับปริญญาโทที่ร่ำเรียนมาไม่ได้ช่วยให้กิจการของครอบครัวพัฒนาไปสู่จุดที่มุ่งหวัง เขาเริ่มมองเห็นสัจธรรมว่าอะไรคือสาเหตุในช่วงนี้เอง
"จริง ๆ แล้วมันเป็นปัญหาเรื่องการจัดการเรื่องเงิน เรื่องระบบธุรกิจแบบครอบครัว ซึ่งเป็นปัญหาที่เราไม่มีความรู้ที่จะแก้ไขเลย" วิชิตบอก
เขาตัดสินใจขจัดความไม่รู้ด้วยการบินกลับไปเรียนปริญญาโทบริหารธุรกิจ (เอ็มบีเอ) เพิ่มเติมที่ยูซีแอลเอ สหรัฐอเมริกา เขาหวังอย่างมากที่จะกลับมาฟื้นฟูกิจการของครอบครัวอีกครั้ง เพียงแต่เขาตัดสินใจออกจะช้าไปสักนิดบริษัทสิงห์ทอง จำกัด โรงงานผลิตกล่องกระดาษที่ครอบครัว "สุรพงษ์ชัย" ก่อร่างสร้างขึ้นมาด้วยระยะเวลานับสิบ ๆ ปี ตัดสินใจขายหุ้นส่วนข้างมากให้กับบริษัทออสเตรเลีย คอนโซลิเดเต็ด อินดัสทรีย์ (ที่เข้ามาเป็นหุ้นใหญ่ในบริษัทไทยกลาสในประเทศไทย) และบริษัทเบอร์ลี่ ยุคเกอร์เพื่อรับช่วงกิจการไปดำเนินการต่อพร้อม ๆ กับเปลี่ยนชื่อบริษัทจากสิงห์ทองเป็นบริษัทสยามบรรจุภัณฑ์



"ช่วงนั้นเป็นปี 2514 ดร.วิชิตยังอยู่ต่างประเทศ เจ้าของเก่าเขาดูแล้วว่าเขากำลังไม่พอที่จะพากิจการให้รุ่งเรืองได้เหมือนเก่าท่ามกลางการแข่งขัน บวกกับกลุ่มไทกลาสที่ติดต่อธุรกิจกันมานานก็เสนอเงื่อนไขดีมาก ๆ เขาก็เลยตัดสินใจขายหุ้นส่วนใหญ่ให้ คงเหลือหุ้นไว้เพียงเล็กน้อยบริษัทนี้ต่อมาในปี 2524 หรือ 10 ปีให้หลังก็เข้าไปอยู่ในเครือซิเมนต์ไทย ก็บริษัทสยามบรรจุภัณฑ์ที่เรารู้จักกันนั่นเอง ไม่ค่อยจะมีคนทราบหรอกว่าคนที่วางรากบริษัทนี้เริ่มจากพวกสุรพงษ์ชัยโดยมี ดร.วิชิตเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงคนหนึ่งในขณะที่ยังอยู่ในวัยหนุ่ม"





ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย เริ่มทำงานเป็นพนักงานฝ่ายวิเคราะห์สินเชื่อ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IFCT) และเป็นอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต่อมาย้ายมาอยู่ธนาคารกรุงเทพ ในปี พ.ศ. 2520 และในปี พ.ศ. 2535 ดร.วิชิต ได้รับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคารกรุงเทพ ในปี 2537 ดร.วิชิต ลาออกจากธนาคารกรุงเทพ โดยให้เหตุผลว่าจะไปรักษาสุขภาพ แต่เพียงไม่ถึงปีของการลาออก เขาได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย





มีประวัติการทำงานที่ยาวนานในภาคการเงินการธนาคาร โดยเริ่มต้นการทำงานด้านการธนาคารที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และได้ลาออกในขณะที่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในระหว่างปี พ.ศ. 2537-2538 และได้กลับเข้าสู่ธุรกิจการธนาคารอีกครั้งในตำแหน่งประธานกรรมการธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) ในปี พ.ศ. 2541 และในปี พ.ศ. 2542 ดร. วิชิต ได้เข้าร่วมงานกับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร และกรรมการ ธนาคาร นอกจากนี้ยังเป็นกรรมการของ Kempinski AG แห่งสวิตเซอร์แลนด์ และดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์


ด้วยวิสัยทัศน์และการวางยุทธศาสตร์ภายใต้การนำและขับเคลื่อนของ ดร.วิชิต ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างการทำธุรกิจในกลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์เป็นอย่างมาก การยึดถือรูปแบบธุรกิจให้การบริการอย่างครบวงจร (Universal Banking) ส่งผลทำให้ธนาคารมีการเติบโตที่โดดเด่นก้าวขึ้นเป็นธนาคารชั้นนำของประเทศ มีศักยภาพสูงในการแข่งขันและสามารถสร้างผลกำไรในระดับสูงได้อย่างต่อเนื่อง ผลักดันให้หุ้นธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) มีมูลค่าทางตลาด (Market Capitalization) สูงสุดของสถาบันการเงินไทย นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลต่างๆ มากมายทั้งในต่างประเทศและในประเทศ ดร.วิชิต ให้ความสำคัญในการวางรากฐานและได้ถ่ายทอดหลักการบริหารการเปลี่ยนแปลงแก่ทีมผู้บริหารของ ธนาคารเพื่อให้ธนาคารสามารถเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพในอนาคต

ดร.วิชิต มีบทบาทในการพัฒนาการศึกษาของประเทศ โดยที่ผ่านมาเคยดำรงตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล, กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, กรรมการสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) รวมถึงการดำรงตำแหน่ง กรรมการของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)