วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

กองทุนรวมตราสารหนี้ ดีอย่างไร ?


การลงทุนในตราสารหนี้


ตราสารหนี้ (
Bound)เป็นการขอสินเชื่อของบริษัขนากใหญ่ ก็คือการกู้ โดยเอกสารที่สัญญาในการกู้เงินทุน โดยระบุว่าจะใช้คืนในอนานคตในวันไหน และจำนวนเท่าไหร่ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยดังนั้นมาดูลักษณะของมัน แบ่งได้เป็นปรการดังนี้
1) รู้เวลากำหนดการไถ่ถอนที่แน่นอน
2) มีการตรามูลค่าเงินต้น เมื่อครอบกำหนดไถ่ถอน
3) ดอกเบี้ยตายตัวตามสัญญา (มักจะจ่ายครึ่งปี หรือรายปี)


กองทุนรวมตราสารหนี้  (FixedIncome Fund)
เป็นกองทุนรวมชนิดหนึ่ง ที่กองทุนนั้นๆ ได้ไปลงทุนในตลาดตราสารหนี้ เช่น  พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรเอกชนรวมถึงหุ้นกู้ด้วย โดยจุดเด่นของมันก็คือ รับความเสี่ยงได้ต่ำ เพราะกองทุนนั้น ได้รายได้ด้วยการทวงหนี้ ดังนั้นจึงมั่นคงกว่ากองทุนหุ้นสามัญ ที่ได้รายได้จากการเป็นเจ้าของ ที่จะต้องรายได้จากความเสี่ยงของการขาดทุน-กำไร ด้วยตัวมันเอง โดยข้อเสียก็คือผลตอบแทนจะน้อย  
เรามาดูดีกว่าว่าลักษณะของตราสารหนี้” เป็นยังไงบ้าง



โดยตราสารหนี้มีหลายประเภท ได้แก่


1. ของรัฐบาล เมื่อรัฐบาลต้องการกู้เงินประชาชน การที่จะให้รัฐบาลเขียนสัญญาประชาชนแบบคนต่อคนนั้นเป็นไปไม่ได้ดังนั้นรัฐบาลจึงออกเป็นตราสารหนี้ (เอกสารสัญญาว่าจะใช้เงินคืน)และออกแก่ธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆเพื่อออกขอเงินกู้(ขาย)ไปยังประชาชน โดยรัฐบาลจะมีดอกเบี้ยเป็นสิ่งตอบแทน
- ตั๋วเงินคลัง (รัฐบาลกู้ประชาชนระยะสั้นต่ำว่า1 ปี)
- พันธบัตรรัฐบาล (รัฐบาลกู้ประชาชนระยะยาว1 ปีขึ้นไป)



2. ของเอกชน
คือเมื่อบริษัมทต่างๆต้องการเพิ่มทุน โดยการกู้เงินมาจากมหาชน(ประชาชนที่ซื้อหุ้นกู้) ดังนั้นผู้ซื้อหุ้นกู้จึงมีสถานะเป็น
เจ้าหนี้  ของผู้ที่ออกหุ้นกูเมีสิทธิได้รับดอกเบี้ย และเงินต้นตามกำหนดอย่างพาะเจาะจงและชัดเจนไม่ว่าบริษัมจะได้กำไรหรือขาดทุน แต่จะไม่มีสิทธิในการเสอนความคิดเห็น โดยจะต่างจากหุ้นสามัญ(หุ้นทุน)ที่ผู้ซื้อหุ้นมีสถานะเป็น เจ้าของดังนั้นผู้ซื้อหุ้นสามัญจึงต้องรับผิดชอบต่อทั้งผลกำไรหรือการขาดทุนตราสารหนี้เอกชนแบ่งได้เป็น
- ตั๋ว 
B/E คือตราสารหนี้ระยะสั้น (อายุคงเหลือไม่เกิน 1ปี) 
- หุ้นกู้ ตราสารหนี้ระยะยาว (อายุเกิน 1 ปี)

เช่น ล่าสุดบริษัทแสนสิริ ได้จำหน่ายหุ้นกู้

"...นายวันจักร์ บุรณศิริ ประธานผู้บริหารฝ่ายปฎิบัติการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เพื่อดำเนินธุรกิจตามแผนงานในปี 2558 อย่างต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปีนี้ รวมทั้งเพื่อรองรับการขยายธุรกิจในอนาคต บริษัทได้เตรียมเสนอขายหุ้นกู้ระยะยาว อายุ 5 ปี จำนวนรวม จำนวนรวม 2,000,000 หน่วย (สองล้านหน่วย) มูลค่าหุ้นกู้รวม 2,000 ล้านบาท (สองพันล้านบาท) สำหรับผลตอบแทนของหุ้นกู้ดังกล่าว คือ อัตราดอกเบี้ยคงที่ เท่ากับ 4.75% ตลอดอายุหุ้นกู้ จ่ายดอกเบี้ยทุก ๆ 3 เดือนและกำหนดวงเงินจองซื้อขั้นต่ำ 100,000 บาทและทวีคูณของ 100,000 บาท โดยแต่งตั้งให้ธนาคารไทยพาณิชย์เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่าย และจะเริ่มเปิดจองซื้อในวันที่ 20 – 29 พฤษภาคมที่ธนาคารไทยพาณิชย์ทุกสาขาทั่วประเทศ..."

ใบหุ้นกู้ (คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่)
f.ptcdn.info/479/012/000/1385194321-cpallstock-o.jpg


3)พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ
เป็นพันธบัตรที่ออกโดยองค์กรรัฐวิสาหกิจ



ที่นี่ท่านผู้อ่านคงจะได้พื้นฐานแนวคิด ในการลงทุนกับกองทุนตราสารหนี้ หรือจะนำไปประเมินกองทุนประเภทต่างๆได้ถูกต้องบ้างขึ้นนะครับ

วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2558

สาวสุดกล้า! โดดขึ้นโต๊ะแถลงข่าว ประท้วง ปธ.ธนาคารกลางยุโรป (ECB)



ถึงป่วน! หญิงสาวอายุแค่ 20 ปีเศษ สุดกล้ากระโดดขึ้นโต๊ะระหว่างการแถลงข่าว ของนายมาริโอ ดรากี้ ประธานธนาคารกลางยุโรป ECB พร้อมตะโกนต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดประเทศสมาชิก
วันที่ 15 เม.ย.สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานว่า มีหญิงสาวกระโดดขึ้นบนโต๊ะ ระหว่างที่นายมาริโอ ดรากี้ ประธานธนาคารกลางยุโรป หรือ European Central Bank กำลังแถลงข่าวต่อหน้าสื่อมวลชนจำนวนมาก เมื่อช่วงบ่ายวันพุธที่ 15 เม.ย.ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งทำให้การแถลงข่าวที่สำนักงานใหญ่ของธนาคารกลางยุโรป ต้องหยุดชะงักชั่วคราว
หญิงสาว สุดกล่้า!โปรยกระดาษประท้วง ปธ.ธนาคารยุโรป ต้านนโยบายรัดเข็มขัด
โดยหญิงสาวรายดังกล่าวอายุประมาณยี่สิบปีเศษ ซึ่งรวมกลุ่มอยู่กับบรรดานักข่าวเพื่อรับฟังการแถลงข่าวของประธาน ECB ได้กระโดดขึ้นบนโต๊ะ ตรงหน้า นายมาริโอ ดรากี้ พร้อมตะโกนเป็นภาษาอังกฤษว่า "end the ECB dictatorship" หรือแปลว่า "หยุดเผด็จการอีซีบีเสียที" ซึ่งเป็นข้อความ ที่สแกนอยู่บนเสื้อยืดที่เธอสวมอยู่ พร้อมกับโปรยเศษกระดาษตัดที่ใช้โยนในงานคาร์นิวัลใส่นายมาริโอ ดรากี้ ด้วย
วินาที จนท.รักษาความปลอดภัยเข้าชาร์ตถึงตัวหญิงอายุ20ปี
ทั้งนี้ มีรายงานว่า การแถลงข่าวดำเนินต่อไป หลังจากที่สามารถจับและแยกตัวหญิงสาวคนดังกล่าวออกไปได้ ซึ่งงานต้องหยุดชะงักไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง โดยไม่มีเหตุการณ์ผิดปกติแต่อย่างใด อย่างไรก็ดี ECB ตกเป็นเป้าของการโจมตีมาตลอด หลังมีวิกฤตการณ์ทางการเงินยุโรป โดยธนาคาร BEC มีบทบาทเป็นผู้กำหนดแนวทางในการดำเนินนโยบายรัดเข็มขัดในหลายประเทศสมาชิก ทำให้เกิดการต่อต้านอยู่บ่อยครั้ง ล่าสุด เมื่อเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา ในพิธีเปิดสำนักงานที่ทำการใหม่ของอีซีบี มีผู้ประท้วงหลายพันคนต่อนโยบายรัดเข็มขัดและสนับสนุนนโยบาย "แคปิตัลลิสต์" ทำให้มีการปะทะกันค่อนข้างรุนแรง
จนท.เร่งนำตัวหญิงสาวสุดป่วน ออกจากสถานที่แถลงข่าวของปธ.ธนาคารกลางยุโรป (ECB)
ขณะที่มาตรการรักษาความปลอดภัยของอาคารที่ทำการธนาคารกลางยุโรปยังมีความเข้มงวดมาก สำหรับผู้ที่จะสามารถผ่านเข้ามาในอาคารได้ จะต้องทำการลงทะเบียนล่วงหน้าทุกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการแถลงข่าวที่มีทุกหกสัปดาห์ต่อ 1 ครั้ง.

http://www.thairath.co.th/content/493208

วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558

เส้นทางชีวิตที่พลิกผันของ CEO ธนาคารไทยพาณิชย์ ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย




ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย กรรมการ ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการกิจกรรมเพื่อสังคม
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)



ดร.วิชิต สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทสาขาวิศวกรรมศาสตร์จาก University of California, Berkeley ปริญญาโทและปริญญาเอก สาขาบริหารธุรกิจ จาก University of California, Los Angeles ประเทศสหรัฐอเมริกา 




เขาเป็นคนกรุงเทพฯ เกิดในครอบครัวเจ้าของโรงงานผลิตกล่องกระดาษโรงแรกในประเทศไทย ที่ก่อตั้งขึ้นโดยพ่อของเขา พงษ์ สุรพงษ์ชัยกับแม่-ลาวัณย์ เป็นกิจการครอบครัวที่เริ่มจากเล็ก ๆ และเติบโตขึ้นมาพร้อม ๆ กับวัยที่เติบโตของเขากับพี่ชายเพียงคนเดียว-วินิจสุรพงษ์ชัย อดีตผู้บริหารคนสำคัญของเอสเอสซีแอนด์บี ลินตาสที่เพิ่งจะมีข่าวครึกโครมเรื่องลาออกไปตั้งเอเยนซี่ใหม่ไม่กี่เดือนมานี้
วิชิต เริ่มเรียนหนังสือที่อัสสัมชัญบางรัก เขาคิดว่าเขากับวินิจน่าจะต้องแสดงบทบาทความเป็นเถ้าแก่ดูแลกิจการโรงงานผลิตกล่องกระดาษต่อจากรุ่นพ่อแม่ ซึ่งก็เป็นความปรารถนาของครอบครัวด้วย เมื่อจบระดับเตรียมอุดมศึกษาแล้ววิชิตจึงตรงแน่วเข้าเป็นนิสิตใหม่คณะวิศวกรรมศาสตร์ แผนกเครื่องกลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างมุ่งมั่น เขาตั้งใจว่าจะนำความรู้ทางด้านวิศวะเครื่องกลไปใช้กับโรงงานของเขา ส่วนวินิจที่ชอบด้านศิลปะก็ถูกส่งไปเรียนวิชาที่ตัวเองชอบที่อังกฤษ
ดูเหมือนครอบครัว "สุรพงษ์ชัย" จะได้วางเส้นทางเดินของทายาทเอาไว้แล้วอย่างรัดกุม
คนโตไปเรียนวิชาที่จะต้องนำมาใช้ในการสร้างสรรค์สินค้าใหม่ ๆ ของโรงงาน
ส่วนคนเล็กเรียนวิชาที่จะใช้ในด้านการผลิต



ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย วัยหนุ่ม


     เพียงแต่บางทีอนาคตข้างหน้านั้นก็ใช่ว่าจะเป็นสิ่งที่กำหนดกันได้เสมอไปเท่านั้น
วินิจ สุรพงษ์ชัย กลับจากอังกฤษก็เข้าทำหน้าที่ในโรงงานผลิตกล่องกระดาษาของครอบครัวทันควัน ตอนนั้น วิชิตยังเรียนวิศวะปี 3 แม้จะยังไม่จบแต่ด้วยความจำเป็นบางประการของครอบครัวทำให้เขาต้องเรียนไปพร้อม ๆ กับช่วยงานในโรงงานและเริ่มให้เวลากับงานอย่างจริงจังทันทีที่หลุดจากรั้วจุฬาฯ
"โรงงานของเราเคยเป็นโรงงานที่มีกำลังการผลิตใหญ่ที่สุด ตอนที่ผมทำงานนั้นก็น่าจะพูดได้ว่าทำเกือบทุกอย่าง ตั้งแต่เถ้าแก่ไปจนถึงจับกังแบกของขนของขึ้นรถลงรถขับรถส่งของหรือแม้แต่ไปญี่ปุ่นเพื่อซื้อเครื่องจักร ต้องอยู่เทรนที่ญี่ปุ่น 6-7 เดือน ผมคิดว่าผมก็ได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ มากทีเดียว" วิชิต เล่าให้ฟัง

หนึ่งปีหลังจากจับงานของครอบครัวอย่างเต็มตัว กิจการเริ่มประสบปัญหาจากการแข่งขัน วิชิตเริ่มคิดในขณะนั้นว่า เขามีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนากิจการให้อยู่ในฐานะที่แข็งแกร่งขึ้น "ผมคิดว่าความรู้ทาง
หนึ่งปีหลังจากจับงานของครอบครัวอย่างเต็มตัว กิจการเริ่มประสบปัญหาจากการแข่งขัน วิชิตเริ่มคิดในขณะนั้นว่า เขามีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนากิจการให้อยู่ในฐานะที่แข็งแกร่งขึ้น "ผมคิดว่าความรู้ทางด้านวิศวะที่มีอยู่ของผมจริง ๆ แล้วมันยังไม่แน่นพอที่จะนำมาใช้ในการพัฒนากิจการก็คิดแค่เพียงด้านนี้ด้านเดียวจริง ๆ ผมก็เลยตัดสินใจไปเรียนต่อระดับปริญญาโทที่ต่างประเทศ"

ปี 2512 วิชิตเข้าเรียนในระดับปริญญาโททางด้านวิศวอุตสหกรรรมที่เบิร์กเล่ย์ประเทศสหรัฐอเมริกา
แต่ดูเหมือนว่าความรู้ระดับปริญญาโทที่ร่ำเรียนมาไม่ได้ช่วยให้กิจการของครอบครัวพัฒนาไปสู่จุดที่มุ่งหวัง เขาเริ่มมองเห็นสัจธรรมว่าอะไรคือสาเหตุในช่วงนี้เอง
"จริง ๆ แล้วมันเป็นปัญหาเรื่องการจัดการเรื่องเงิน เรื่องระบบธุรกิจแบบครอบครัว ซึ่งเป็นปัญหาที่เราไม่มีความรู้ที่จะแก้ไขเลย" วิชิตบอก
เขาตัดสินใจขจัดความไม่รู้ด้วยการบินกลับไปเรียนปริญญาโทบริหารธุรกิจ (เอ็มบีเอ) เพิ่มเติมที่ยูซีแอลเอ สหรัฐอเมริกา เขาหวังอย่างมากที่จะกลับมาฟื้นฟูกิจการของครอบครัวอีกครั้ง เพียงแต่เขาตัดสินใจออกจะช้าไปสักนิดบริษัทสิงห์ทอง จำกัด โรงงานผลิตกล่องกระดาษที่ครอบครัว "สุรพงษ์ชัย" ก่อร่างสร้างขึ้นมาด้วยระยะเวลานับสิบ ๆ ปี ตัดสินใจขายหุ้นส่วนข้างมากให้กับบริษัทออสเตรเลีย คอนโซลิเดเต็ด อินดัสทรีย์ (ที่เข้ามาเป็นหุ้นใหญ่ในบริษัทไทยกลาสในประเทศไทย) และบริษัทเบอร์ลี่ ยุคเกอร์เพื่อรับช่วงกิจการไปดำเนินการต่อพร้อม ๆ กับเปลี่ยนชื่อบริษัทจากสิงห์ทองเป็นบริษัทสยามบรรจุภัณฑ์



"ช่วงนั้นเป็นปี 2514 ดร.วิชิตยังอยู่ต่างประเทศ เจ้าของเก่าเขาดูแล้วว่าเขากำลังไม่พอที่จะพากิจการให้รุ่งเรืองได้เหมือนเก่าท่ามกลางการแข่งขัน บวกกับกลุ่มไทกลาสที่ติดต่อธุรกิจกันมานานก็เสนอเงื่อนไขดีมาก ๆ เขาก็เลยตัดสินใจขายหุ้นส่วนใหญ่ให้ คงเหลือหุ้นไว้เพียงเล็กน้อยบริษัทนี้ต่อมาในปี 2524 หรือ 10 ปีให้หลังก็เข้าไปอยู่ในเครือซิเมนต์ไทย ก็บริษัทสยามบรรจุภัณฑ์ที่เรารู้จักกันนั่นเอง ไม่ค่อยจะมีคนทราบหรอกว่าคนที่วางรากบริษัทนี้เริ่มจากพวกสุรพงษ์ชัยโดยมี ดร.วิชิตเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงคนหนึ่งในขณะที่ยังอยู่ในวัยหนุ่ม"





ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย เริ่มทำงานเป็นพนักงานฝ่ายวิเคราะห์สินเชื่อ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IFCT) และเป็นอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต่อมาย้ายมาอยู่ธนาคารกรุงเทพ ในปี พ.ศ. 2520 และในปี พ.ศ. 2535 ดร.วิชิต ได้รับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคารกรุงเทพ ในปี 2537 ดร.วิชิต ลาออกจากธนาคารกรุงเทพ โดยให้เหตุผลว่าจะไปรักษาสุขภาพ แต่เพียงไม่ถึงปีของการลาออก เขาได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย





มีประวัติการทำงานที่ยาวนานในภาคการเงินการธนาคาร โดยเริ่มต้นการทำงานด้านการธนาคารที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และได้ลาออกในขณะที่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในระหว่างปี พ.ศ. 2537-2538 และได้กลับเข้าสู่ธุรกิจการธนาคารอีกครั้งในตำแหน่งประธานกรรมการธนาคารรัตนสิน จำกัด (มหาชน) ในปี พ.ศ. 2541 และในปี พ.ศ. 2542 ดร. วิชิต ได้เข้าร่วมงานกับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร และกรรมการ ธนาคาร นอกจากนี้ยังเป็นกรรมการของ Kempinski AG แห่งสวิตเซอร์แลนด์ และดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์


ด้วยวิสัยทัศน์และการวางยุทธศาสตร์ภายใต้การนำและขับเคลื่อนของ ดร.วิชิต ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างการทำธุรกิจในกลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์เป็นอย่างมาก การยึดถือรูปแบบธุรกิจให้การบริการอย่างครบวงจร (Universal Banking) ส่งผลทำให้ธนาคารมีการเติบโตที่โดดเด่นก้าวขึ้นเป็นธนาคารชั้นนำของประเทศ มีศักยภาพสูงในการแข่งขันและสามารถสร้างผลกำไรในระดับสูงได้อย่างต่อเนื่อง ผลักดันให้หุ้นธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) มีมูลค่าทางตลาด (Market Capitalization) สูงสุดของสถาบันการเงินไทย นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลต่างๆ มากมายทั้งในต่างประเทศและในประเทศ ดร.วิชิต ให้ความสำคัญในการวางรากฐานและได้ถ่ายทอดหลักการบริหารการเปลี่ยนแปลงแก่ทีมผู้บริหารของ ธนาคารเพื่อให้ธนาคารสามารถเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพในอนาคต

ดร.วิชิต มีบทบาทในการพัฒนาการศึกษาของประเทศ โดยที่ผ่านมาเคยดำรงตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล, กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, กรรมการสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) รวมถึงการดำรงตำแหน่ง กรรมการของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)

วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558

แบงค์สีม่วง-สจล. เปิดชื่อผู้ต้องหา โกง1.6 พันล้าน




"แบงค์สีม่วง" จ่าย "สจล." 1,500 ล้านบาท ดูแลความเสียหาย ด้าน "วิชิต" ชี้เป็นการแสดงความรับผิดชอบของธนาคาร-ไม่กระทบฐานะการเงิน 

 ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหารธนาคารใบโพธิ์ (ไทยพาณิชย์)  ศ.ดร.โมไนย ไกรฤกษ์ รักษาการแทนอธิการบดี สจล. และ รศ.นพ.กำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมกันแถลงข่าวภายหลังลงนามสัญญาธุรกรรมที่สองฝ่ายบรรลุข้อตกลงเพื่อดูแลความเสียหายอันเกี่ยวเนื่องจากกรณีที่ สจล.ถูกคนร้ายลักทรัพย์เงินคงคลังของสถาบันฯ ราว 1,500 ล้านบาท 

สำหรับข้อตกลงร่วมกันระหว่าง สจล.และแบงค์สีม่วงนั้น คือ ไทยพาณิชย์จะให้เงินเพื่อดูแลความเสียหายในวงเงินไม่เกิน 1,500 ล้านบาทแก่ สจล.ตามมูลค่าความเสียหายที่ทาง สจล.ได้ประเมินไว้  ทั้งนี้ การทำความตกลงข้างต้นไม่กระทบต่อการดำเนินคดีจนถึงที่สุด 

ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์กล่าวว่า การที่แบงค์ม่วงให้เงินเพื่อดูแลความเสียหายแก่ สจล.ครั้งนี้นั้น ธนาคารยึดหลักธรรมาภิบาล ความรับผิดชอบต่อลูกค้าและสังคม ซึ่งกรณีนี้ได้ปรากฏว่ามีพนักงานของธนาคารมีส่วนเกี่ยวข้องในการทุจริต ธนาคารจึงแสดงความรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นกับ สจล

ดร.วิชิต กล่าวว่า ธนาคารเห็นว่าหากปล่อยให้เรื่องที่เกิดขึ้นระหว่างสถาบันยืดเยื้อต่อไปจะส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงและความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อทั้งสอง  และอาจส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งในภาคเศรษฐกิจและการศึกษาของประเทศ 

“นี่ไม่ใช่เป็นการซื้อหรือจ่ายเพื่อปิดเรื่อง แต่เป็นการให้เงินประกันไว้เพื่อความสบายใจ แต่สุดท้ายแล้วหากพบว่าเสียหายน้อยกว่า ทาง สจล.ก็คืนให้กับธนาคารเท่านั้น” ดร.วิชิต กล่าว 

ทั้งนี้ ไทยพาณิชย์มีสินทรัพย์กว่า 2.7 ล้านล้านบาท ดังนั้นกรณีนี้จะไม่ได้สร้างความเสียหายให้กับธนาคาร โดยเงิน 1,500 ล้านบาทจะจัดอยู่ในงบประมาณค่าใช้จ่ายของธนาคาร 

ศ.ดร.โมไนย ไกรฤกษ์ รักษาการแทนอธิการบดี สจล.กล่าวขอบคุณธนาคารไทยพาณิชย์ในการแสดงความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ทั้ง สจล.และธนาคารไม่ต้องการให้เกิดขึ้นอีก โดยในส่วนของ สจล.ถือเป็นบทเรียนสำคัญที่รีบดำเนินการป้องกันและแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยได้เพิ่มความรัดกุมในทุกกระบวนการธุรกรรมด้านการเงิน และร่วมมือกับทุกฝ่ายเพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดให้ถึงที่สุด รวมทั้งเป็นบทเรียนกับหน่วยงานอื่น ๆ ด้วย 



ศ.ดร.โมไนย ยังกล่าวยืนยันด้วยว่า การบรรลุข้อตกลงครั้งนี้ไม่ได้เกิดจากการที่ สจล.ได้รับผลกระทบจนขาดสภาพคล่องแล้วทำให้ธนาคารไทยพาณิชย์เกิดความเห็นใจ เพราะเงินที่หายไปเป็นเงินคงคลังหรือเงินเก็บ 

“เพื่อเป็นการตอบแทนน้ำใจของธนาคารไทยพาณิชย์ เราจึงเปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารไทยพาณิชย์” ศ.ดร.โมไนย กล่าว 

ส่วนกรณีความเสียหาย 80 ล้านบาทที่เกิดขึ้นระหว่างที่หนึ่งในผู้ต้องหาทำงานอยู่ที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยานั้น ศ.ดร.โมไนย กล่าวว่า กรณีดังกล่าวทางธนาคารกรุงศรีอยุธยาพิสูจน์แล้วว่าเป็นการลงลายมือชื่อปลอม ซึ่งเชื่อว่าทางธนาคารจะไม่นิ่งนอนใจในการดำเนินการหลังจากที่เห็นทางธนาคารไทยพาณิชย์ดำเนินการวันนี้แล้ว แต่ที่ผ่านมายังไม่เคยมีการติดต่อมาแต่อย่างใด


สำหรับคดีลักทรัพย์ สจล.มีกลุ่มบุคคลที่ตกเป็นผู้ต้องหาแล้วคือ
1 นายทรงกลด ศรีประสงค์ อดีตผู้จัดการแบงค์ม่วง
2. น.ส.อำพร น้อยสัมฤทธิ์ ผู้อำนวยการส่วนการคลัง สจล.
3. อดีตผู้บริหาร สจล.คือ ศ.ถวิล พึ่งมา อดีตอธิการบดี
4. ผศ.สรรพสิทธิ์ ลิ่มนรรัตน์ อดีตผู้ช่วยอธิการบดี


ที่ร่วมกันเบิกถอนเงินโดยทุจริตไปฝากเข้าบัญชีกลุ่มบุคคลอื่น ๆ ในลักษณะฟอกเงิน รวมผู้ต้องหาทั้งสิ้น 14 คน ยังหลบหนี 3 คน ถูกควบคุมตัวที่เรือนจำ 8 คน และได้รับอนุญาตประกันตัว 3 คน


at: http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/636912#sthash.1kG65HGT.dpuf

https://www.facebook.com/public/แบงค์-ม่วงปั่น

วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บ้านแห่งอิสลาม : น้ำมันไม่ใช่ทรัพยากรที่แสนสิรินักสำหรับโลกอาหรับ

น้ำมัน ไม่ใช่ของขวัญ แต่เป็นการลงทุนง่ายๆ ที่ทำให้เชื่อยชา
และนำความล้มเหลวของโลกอาหรับมุสลิม 






1,400 กว่าปีที่แล้ว โลกอาหรับนั้นกักขระ หยาบช้า ป่าเถื่อน , แต่เมื่อทันทีที่ชายที่ชื่อมูฮัมหมัด บินอับดุลเลาะห์ หรือที่ถูกเรียกในปัจจุบันว่า นบีมูฮัมหมัด และสาวก ได้รวบรวมอาราเบียเป็นปึกแผ่น  , โลกอาหรับกลายเป็นหนึ่ง อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน พวกเขาสามารถยึดดินแดน (หรือพูดอีกอย่างคือปลดแอกดินแดนนั้นๆจากผู้นำเผด็จการ) .... การยึดดินแดนในสมัยนั้น คือการไปบอกประชาชนว่า ผู้นำของพวกท่านมันเลว(กว่าเรา) มันตั้งตนเป็นพระเจ้าและให้เศษเนื้อแก่ท่าน จงมารวมกับเรา ถ้าพวกท่านเป็นมุสลิม พวกเราคือเรือนร่างเดียวกัน อยู่ในบ้านมุสลิมด้วยกัน ... จึงไม่ยากเลยที่อาณาจักรอิสลามจะล้มอาณาจักรเปอร์เซียและโรมันตะวันออกได้สำเร็จ

++ความรุ่งเรืองของอาณาจักร
ต้องลงทุนในความรู้ ไม่ใช่ น้ำมัน
ความรุ่งเรืองก่อตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งความรู้ วิชาการแพทย์ เคมี ชีวะ การค้า รวมอยู่ที่อาณาจักรนี้ มีแบกแดด และอัลดาลูส (สเปน) เป็นศูนย์กลางโลก ... พวกยุโรปต้องมาเรียนอาหรับ สิริรวมก็หลายร้อยปี ใช้เลขอาระบิก แปลตำราจากแขกอาหรับเป็นภาษาลาติน พวกคำว่า อัลกอลึทึ่ม เคมิสที ก็เป็นคำจากโลกมุสลิม อิบนุ ซีนา หรือที่ชาวยุโรปเรียกันว่า เอวิเซ็นนา(Avicenna) คือบิดาการแพทย์แผนปัจจุบัน ... ในศตวรรษที่ 7 โลกมุสลิมถึงจุดสูงสุด คนทั่วโลกอยากไปลิ้มรสแสงสีในเมืองแบกแดดสักครั้งในชีวิต

++
แต่ทำไม 1.4 พันปีต่อมา โลกอาหลับ มันจะกลับไปสู่จุดเสื่อมนั้นอีกครั้ง , เมื่อน้ำมันเป็นทรัพยากรต้นน้ำของอุตสาหกรรมทั้งโลก ... ทำไมคนที่คุมต้นน้ำนี้ จึงไม่ได้อะไรนอกจากเปลือกสวยๆ และความเฉยชาน้ำมันเป็นเพียงสินเชื่อ ที่ต้องนำมาลงทุนเพื่อสร้างดอกผลที่ยั่งยืนและแท้จริง , นั่นคือความเจริญจากภายในของชาวอาหรับ ทั้งทางโลกและทางศาสนา , ระบบความรู้ ระบบเศรษฐกิจ การเมือง ต้องแพร่ไปสู่คนทุกชนชั้นของอาหรับ ถ้าหากไม่เป็นเช่นนั้น ถ้าหากอาหรับหากินจากน้ำมันไปวันๆ สักวันหนึ่ง อาหรับจะได้เห็นความอ่อนแอของตนอย่างแท้จริง และจะไม่สามารถต่อสู้กับใครเขาได้เลย


                           

http://topicstock.pantip.com/home/topicstock/2012/05/R12125817/R12125817.html



ความล้มเหลวของโลกอาหรับมุสลิม และสาเหตุ :
หลังจากยุคคอลิฟะห์( คอลิป ,กาหลิบ) ทั้ง 4 จบลงด้วยการที่เรียกว่า "อำนาจรัฐประหาร"โดยมุอาวิยะ ก่อตั้งราชวงค์ "อูมัยยะห์" ตามด้วย"อับาสิยะห์" "ฟาติมิยะห์" จนถึง"อุสมานิยะห์"(ออตโตมาน) โลกมุสลิมเผชิญความรุ่งโรจน์และตกต่ำ
และจนถึงการแตกกระจายของอาณาจักร จนถึงการครองอำนาจของราชวงค์"อัลซาอูด" ที่1 ที่2 ก่อตั้งราชอาณาจักรซาอุดี้อาราเบีย ... และเผยแผ่แนวคิดอิสลามที่ถูกเรียกว่า วาฮะบีย์เช่นปัจจุบัน ที่เริ่มต้นจากความรุนแรง และมีความรุนแรงแข็งกร้าวแฝงเร้นอยู่ .... โลกมุสลิมไม่เคยพ้นภัยจาก"เจว็ด"

++
ปัจจุบัน แม้ธงของซาอุดิอาระเบีย ใจกลางของบ้านแห่งอิสลาม ที่ตั้งของบ้านแห่งพระเจ้า(บัยตุลเลาะห์  หรือกะบะห์) จะเขียนว่า "ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากเอกองค์ และมูฮัมหมัดคือศาสนทูตของพระองค์" .... แต่ทว่า ในแนวทางการกำหนดชีวิต (การเมือง) โลกมุสลิมไม่ได้เผชิญหน้าเฉพาะแต่ศัตรูนอกศาสนา อย่างยิวหรือคริสต์ แต่ศัตรูที่ร้ายกาจที่สุด แผงเร้นอยู่ในหัวหน้ารัฐบาลของพวกเขา ที่ดำรงตนเป็นเจว็ดเสียเอง และไม่สามารถสร้างระบบการเมือง ที่จะทำให้มุสลิม 1.6 พันล้านคนแข็งแกร่งได้ ....

ข้อนี้ต่างจากยิว ที่แม้จะมีเพียง 6-14 ล้านคน แต่พวกเขาสามารถครองอำนาจทางการเมืองโลกได้อยู่หมัด ... ทำไม ? 



วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ธนาคารใบโพธิ์ ร่วม สจล. แถลงจุดยืนเร่งหาคนโกงเงินฝากประจำ สจล.


  ตามที่ปรากฏเป็นข่าวต่อเนื่องกรณีการทุจริตบัญชีเงินฝากของ สจล. หรือสถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่ฝากไว้กับธนาคารใบโพธิ์ ไทยพาณิชย์ ในการนี้สถาบันหลักที่เกี่ยวข้อง อันได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องที่เกิดขึ้น จึงได้มีการหารือร่วมกันและจัดแถลงข่าวในวันนี้ เพื่อแสดงจุดยืนของแต่ละสถาบัน ตลอดจนประกาศให้ทราบถึงความร่วมมือระหว่างสองสถาบันในการตรวจสอบข้อเท็จจริง และเร่งหาตัวผู้กระทำความผิดกรณีทุจริต


 


news-130258-1.jpg

         ศ.ดร.โมไนย ไกรฤกษ์ รักษาการแทนอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าว ว่า “จากการที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ได้ร้องขอข้อมูล เอกสาร หลักฐาน ในการดำเนินธุรกรรมทางการเงินจากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) อันจะเป็นหลักฐานสำคัญในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดที่ได้ลักทรัพย์ของ สจล. ไป เป็นจำนวนเงินราว 1.5 พันล้านบาท ซึ่งสร้างความเสียหายทางด้านการเงินต่อ สจล. อย่างมาก ที่ผ่านมายังคงมีความล่าช้าในการจัดส่งเอกสารตามที่ สจล. ร้องขอ ในครั้งนี้ทางธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ได้ตกลงจะนำส่งเอกสารต่างๆ เพิ่มเติมให้แก่ทาง สจล. ให้ครบถ้วน”

          รศ. ดร.จำรูญ เล้าสินวัฒนา รักษาการแทนรองอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า “ทางธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ตกลงที่จะส่งเอกสารเพิ่มเติมให้แก่ทาง สจล. มีรายละเอียดดังนี้
          1. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) จะนำส่งเอกสาร หลักฐาน จำนวน 8 รายการ ใน 3 บัญชีหลักของสาขาบิ๊กซี สุวินทวงศ์ โดยให้ทยอยนำส่งให้ครบทุกรายการ ภายในวันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558
          2. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) จะนำส่งเอกสาร หลักฐาน ในส่วนที่ยังขาดอีก 31 รายการ ในอีก 5 บัญชี โดยให้ทยอยนำส่งให้ครบทุกรายการ ภายในวันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558
          3. เอกสารที่ สจล. ร้องขอจำนวนรวม 68 รายการ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) จะส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้ สจล. และจัดส่งเอกสารต้นฉบับให้พนักงานสอบสวน กองปราบปราม
          สจล. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความร่วมมือจากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ด้วยดี เพื่อให้พนักงานสอบสวน กองปราบปราม สามารถดำเนินการสืบสวน สอบสวนตามขั้นตอน เพื่อหาผู้กระทำความผิดมาลงโทษตามกฎหมายต่อไป และนำเงินกลับคืนสู่ สจล. โดยเร็ว”


         ดร. วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธาน MD ธนาคารใบโพธิ์
 กล่าวว่า “จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในนามของธนาคารผมขอยืนยันว่า ตลอดมาธนาคารยึดมั่นในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และไม่ประนีประนอมกับเรื่องทุจริต สำหรับเรื่องที่เกิดขึ้นธนาคารมิได้นิ่งนอนใจ ได้จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยได้แต่งตั้ง นางวัลลยา แก้วรุ่งเรือง รองผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานกฎหมาย เป็นหัวหน้าคณะทำงานและเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการสื่อสารตลอดจนเป็นผู้ให้ ข้อมูลเกี่ยวกับกรณีที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ คณะทำงานชุดนี้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เกิดขึ้นเพื่อให้เกิดความ โปร่งใสในการตรวจสอบ ซึ่งธนาคารเชื่อว่าจะได้ข้อสรุปในไม่ช้า และเมื่อประกอบกับผลการสอบสวนของทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ หากได้ข้อสรุปว่าพนักงานของธนาคารมีส่วนร่วมในการทำทุจริตหรือบกพร่องจนก่อให้เกิดความ เสียหาย ธนาคารใบโพธิ์ก็พร้อมรับผิดชอบตามกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม

         นอกจากนี้ แบงค์ใบโพธิ์ยังได้ออกมาตรการเพิ่มเติมในระบบการปฏิบัติงานให้รัดกุมมากขึ้น เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้า ตามที่ได้ประกาศไปแล้ว ได้แก่ การลดอำนาจอนุมัติของสาขาในรายการเงินสดและเงินโอนมาไว้ที่ส่วนกลาง และจะได้มีการออกมาตรการเพิ่มเติมเกี่ยวกับการควบคุมการปฏิบัติงานสาขาและ ระบบงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ในลำดับต่อไป”



สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และแบงค์ใบโพธิ์ (ธนาคารไทยพาณิชย์) ขอยืนยันในการให้ความร่วมมือกันในการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีทุจริต ที่เกิดขึ้น



ความเข้าใจผิดในองค์ประกอบ : การซื้อของ และการออม

ความเข้าใจผิดในองค์ประกอบ
ในการซื้อของ และการออม ต่อเศรษฐกิจของประเทศ

ในต้นปี 2012 เป็นปีที่ผมใช้ชีวิตแบบเก่า (เสื้อผ้าไม่ซื้อ ใช้ของจนวาระสุดท้าย) , รองเท้าของผมเก่ามากแล้ว หัวเปิด พื้นทะลุด (เอาถุงก็อปแก็ปมายัดเพื่อกันน้ำ) ... เงินมี แต่ไม่ใช้ และไม่คิดว่าจำเป็นต้อนใช้ (, แต่ในที่สุด มันก็ไม่ไหวจริงๆ ก็ต้องไปเปลี่ยนรองเท้า สิ้นสุดความอนาจ , นี่คือนิสัยประหยัดแบบหนึ่ง

ภาพ : 1 APR 2012

++

ในเศรษฐกิจมหภาค , มันมีข้อหนึ่งที่เขาสอนไว้ก่อน คือ Fallacy of Composition (ความจริงในส่วนย่อย ไม่ได้หมายความว่าจะจริงในส่วนใหญ่) , ตัวอย่างที่เขานิยมสอนกันคือเรื่องของความประหยัด , เช่น คนมักคิดว่าการออมประหยัดแล้วจะรวย .. แต่ในมหภาค ลองคิดภาพตามว่ามีคนนิสัยเหมือนผม(ตอนนั้น)สัก 40 ล้านคนสิ , เสื้อผ้าไม่ซื้อใหม่ รองเท้าไม่ซื้อ ร้านอาหารไม่กิน เที่ยวไม่เที่ยว , มีเก็บก็เก็บออม สะสมเงินในบัญชีเงินฝากอย่างเดียว ถามว่าภาคการผลิต โรงงาน ร้านค้า จะผลิตและจ้างงานได้หรือเปล่า ? ผลิตรองเท้า ก็ไม่มีคนซื้อ ร้านอาหารก็ไม่มีคนเข้า เสื้อผ้าก็ไม่เปลี่ยน มือถือไม่เปลืยน สุดท้ายเศรษฐกิจจะชงัก และเจ๊งกันทั้งระบบ ธนาคารก็จะพยายามลดตราดอกเบี้ยเพื่อให้คนกู้เงินไปลงทุน เพิ่มการให้สินเชื่อ เพื่อกระตุ้นให้คนอยากใช้จ่าย (ดาวน์ ผ่อน เพื่อบริโภค)


++
บางคนบอกว่า ก็ดี อยู่อย่างพอเพียงไปวันๆ
แต่อย่าลืมครับ แรงงานที่มีความสมารถ เช่น หมอเก่งๆ วิศวะเก่งๆ นักคิดนักทำเก่งๆ เขาจะไหลออกนอกประเทศ(เว้นแต่จะปิดประเทศไม่ให้ออก) เพื่อไหลไปสุูประเทศที่เศรษฐกิจโตกว่า รวยกว่า พัฒนาก้าวหน้ามากกว่า , และสุดท้ายประเทศที่ไม่มีการเจริญเติบโต ก็เหมือนคนที่เลือดไหลไม่หยุด คนเก่งๆในประเทศไม่เหลือ การแพทย์ สิ่งประดิษฐ ก็ไม่พัฒนา ความอ่อนแอของประเทศก็มีมากขึ้นๆ และอาจนำมาสู่ความเสื่อมในทุกๆมิติ นั่นเอง


----


บ่อยครั้งที่ผมใช้เหตุผลนี้กล่อมตัวเองให้ใช้เงินนะ บอกตัวเองว่าถอนเงินจากเงินฝากประจำมากระตุ้นเศรษฐกิจหน่อย แต่ตอนนี้คิดว่าใช้มากพอแล้ว , ประหยัดแบบเดิม ผมก็อยู่สบายดี , การใช้เงินนะ ใช้ได้ ใช้มากๆเท่าไหร่ก็ได้ ถ้าคิดว่าใช้แล้วจะได้ผลที่ดีกลับมาในอนาคต , อย่างผมจะเสียเงินมากกับโปรตีน หรือบางคนก็เสียเงินไปกับการศึกษา การลงทุน หรือใช้จ่ายความสุขที่ให้แรงบัลดาลใจจริงๆ (ไม่ใช่เพราะเห่อ ฟุ่งเฟ้อตามกระแส) การใช้จ่ายแบบนี้ คือการเติบโตที่มั่นคงกว่าครับ